7 มีนาคม 2556

วิธีการทำหน้าใส

วิธีการทำหน้าใส

กล้วยไข่ไร้สิว

สรรพคุณ ช่วยสมานผิว ขจัดสิวเสี้ยน

ส่วนผสม กล้วยไข่ 2 ผล / ไข่ไก่เฉพาะไข่ขาว 1 ฟอง / น้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะ/น้ำตาลทรายแดง 1 ช้อนโต๊ะ

วิธีผสม นำกล้วยไข่ปอกเปลือกหั่นเป็นชิ้นเล็กๆแล้วใส่ลงในโถปั่นใส่ไข่ขาวปั่นจน ละเอียดแล้วยกลง พักสักครู่ แล้วใส่น้ำผึ้งและน้ำตาลทรายแดงตามลงไป คนให้เข้ากันอย่างช้าๆ

วิธีใช้ นำ ครีมพอกให้ทั่งหน้าเว้นดวงตาใช้นิ้วค่อยๆถูนวดเบาๆ วนทวนเข็มนาฬิกาอย่างช้าๆทำอย่างนี้ประมาน1-2นาทีแล้วทิ้ไว้สักคู่จนรู้สึก ตึงจึงล้างออกด้วยน้ำสะอาดเราจะสึกถึงความสะอาดมากเลย

กล้วยน้ำว้าสบู่ถนอมผิวหน้า

สรรพคุณ : ช่วยทำความสะอาดผิดหน้าได้ดี ทำให้ผิวหน้าชุ่มชื้น

ส่วนผสม กล้วยน้ำว้า 2 ผล / มะนาว 1 ผล

วิธีผสม ปอกเปลือกกล้วยออกหั่นเป็นชิ้นเล็กๆนำลงเครื่องปั่นบดให้ละเอียด นำมะนาวผ่าขวางแล้วคั้นเอาแต่น้ำเทลงในกล้วยที่บดเรียบร้อยแล้วคนให้เข้ากัน

วิธีใช้ ใช้น้ำสะอาดลูบหน้าพอให้เปียก ทาสบู่กล้วยถนอมผิวที่เราทำไว้ทาให้ทั่วหน้าพักไว้ 3-5 นาที ล้างออกด้วยน้ำสะอาดจะรู้สึกว่าหน้าสะอาดมากและไม่แห้งตึง

แตงกวา ให้ผิวใหม่ที่อ่อนนุ่ม

แตงกวา (Cucumis sativas Linn.)
จะ มีวิตามินสูง ในผลแตงกวายังมีเอ็นไซม์ cryssin ซึ่งช่วยย่อยโปรตีนได้ เอ็นไซม์ชนิดนี้ จะช่วยย่อยผิวหนังที่หยาบกร้าน ให้หลุดออกไป เพื่อให้ผิวใหม่ที่อ่อนนุ่ม เกิดขึ้นมาแทนที่ บางคนใช้แตงกวาสด ผ่าเป็นชิ้นบางๆ วางบนใบหน้าที่ล้างสะอาด แทนน้ำแตงกวา ปัจจุบันมีน้ำแตงกวาผสมในเครื่องสำอาง เช่น ครีมล้างหน้า ครีมทาตัว เพื่อช่วยให้ผิวไม่หยาบกร้าน และช่วยสมานผิว แตงกวาเป็นสมุนไพร ที่หาง่าย มีประโยชน์ ราคาถูก ใช้ติดต่อกับเป็นประจำ จะทำให้สวนสดชื่น มีน้ำมีนวล

สรรพคุณ สมานผิว ลบรอยเหี่ยวย่น

ส่วนผสม แตงกวา 1 ผล

ไข่ขาวจากไข่ไก่ 1 ฟอง

น้ำมะนาว 1 ช้อนชา

วิธีทำ ปอกเปลือกแตงกวาล้างน้ำให้สะอาด หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ นำไปปั่นให้ละเอียด เติมไข่ขาวและน้ำมะนาวปั่นจนเป็นเนื้อเดียวกัน จะได้ครีมพอกหน้าแตงกวา

วิธีใช้ ล้างหน้าให้สะอาด เช็ดให้แห้ง ใช้ครีมแตงกวาพอกให้ทั่วหน้า ยกเว้นรอบปากและดวงตา ทิ้งไว้ 20 นาทีล้างออกด้วยน้ำสะอาด สูตรนี้เหมาะ กับคนผิวมัน สำหรับคนผิวแห้ง ให้นำแตงกวาไปตุ๋นจนเละแล้วกรองเอาเฉพาะน้ำมาทาหน้า ทิ้งไว้ 15 นาที ล้างออกด้วยน้ำสะอาด

5 มีนาคม 2556

 

การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพคืออะไร




linesbar.gif (1687 bytes)
            
            คือ การออกกำลังกายเพื่อเพิ่ม หรือคงไว้ซึ่งความทนทานของระบบไหลเวียนโลหิตและปอด โดยมีขบวนการใช้ออกซิเจน ในขบวนการเผาผลาญ เพื่อให้เกิดพลังงานสำหรับการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง จึงมีชื่อเรียกการออกกำลังกายชนิดนี้ว่า AEROBIC EXERCISE

                                ประโยชน์ต่อสุขภาพ

1. ระบบไหลเวียนโลหิต  
1.1 ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรงมากขึ้น สามารถสูบฉีดโลหิตได้ปริมาณมากขึ้น
1.2 เพิ่มหลอดโลหิตฝอยมาเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจมากขึ้น
1.3 ลดอัตราการเต้นของหัวใจ ทั้งในขณะพัก และออกกำลังกาย ทำให้ไม่เหนื่อยง่าย
1.4 ลดแรงต้านทานส่วนปลายของหลอดโลหิตฝอยทำให้ความดันโลหิตลดลงทั้งขณะพัก และออกกำลังกายลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง


2. ระบบหายใจ

     2.1 ความจุปอดเพิ่มขึ้น ทำให้การแลกเปลี่ยนออกซิเจนมากขึ้น
   
2.2 เพิ่มปริมาณโลหิตไปสู่ปอด ทำให้การไหลเวียนของปอดดีขึ้น
   
2.3 เพิ่มประสิทธิภาพในการแลกเปลี่ยนก๊าซที่ปอด ทำให้ประสิทธิภาพการหายใจดีขึ้น

3. ระบบชีวเคมีในเลือด

        3.1 ลดปริมาณคอเลสเตอรอล (Cholesterol) และไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) จึงลดอัตราเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน และโรคหลอดเลือดสมองอุดตัน
     
3.2 เพิ่ม HDL Cholesterol ซึ่งช่วยลดการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน
     
3.3 ลดน้ำตาลส่วนเกินในเลือด เป็นการช่วยป้องกันโรคเบาหวาน

4. ระบบประสาทและจิตใจ
      4.1 ลดความวิตกกังวลและคลายความเครียด
    
4.2 มีความสุขและรู้สึกสบายใจจากสาร Endorphin ที่หลั่งออกมาจากสมองขณะออกกำลังกาย

ขั้นตอนและหลักในการปฏิบัติ
         ถ้ามีอายุมากกว่า 35 ปี ควรตรวจสุขภาพ ว่ามีโรคหัวใจหรือไม่ก่อนการออกกำลังกายชนิดนี้ ควรรู้วิธีเหยียดและยืดกล้ามเนื้อ รวมทั้งอุ่นเครื่อง (Warm up) และเบาเครื่อง (Cool down) หลักในการปฏิบัติ เป็นการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่อย่างน้อย 1 ใน 6 ส่วนของร่างกาย ออกกำลังอย่างสม่ำเสมอ
คำศัพท์
Frequency (F)     หมายถึงความถี่ในการออกกำลังกายใน 1 สัปดาห์ อย่างน้อย 3 วัน อย่างมาก 6 วัน
Intensity (I)         หมายถึงความหนักในการออกกำลังกาย ใช้อัตราการเต้นของชีพจรเป็นเกณฑ์ ให้ได้ประมาณระหว่างร้อยละ 70-90 ของอัตราเต้นสูงสุดของหัวใจ ซึ่งสามารถคำนวนได้จากการนำอายุไปลบออกจากเลข 220
      ตัวอย่างเช่น ชายอายุ 20 ปี จะใช้ความหนักในการออกกำลังกายชนิดนี้เท่าใด
      คำตอบคือ (220-20)x 70 ถึง 90 หาร 100 เท่ากับ 140 ถึง 180 ครั้งต่อนาที
Time (T)             หมายถึง ช่วงเวลาในการออกกำลังกายในแต่ละวัน อย่างน้อย 10-15 นาที ใน 6 วัน อย่างมาก 30-45 นาทีใน 3 วัน

รูปแบบการออกกำลังกาย
            
          มีหลากหลายชนิดเช่น วิ่งเหยาะ, เดินเร็ว, ขี่จักรยาน, ว่ายน้ำ, เต้นแอโรบิค, ฟุตบอล, บาสเก็ตบอล, เทนนิส, แบดมินตัน, ตระกร้อข้ามตาข่าย, วอลเลย์บอล เป็นต้น

ข้อควรระวัง

bullet2.gif (105 bytes)ควรงดการออกกำลังกาย ในขณะเจ็บป่วย มีไข้ พักผ่อนไม่พอ

bullet2.gif (105 bytes)ควรออกกำลังกายก่อนอาหารหรือหลังอาหารหนักผ่านไป 3-4 ชั่วโมง และดื่มน้ำอย่างเพียงพอ

bullet2.gif (105 bytes)ควรหลีกเลี่ยงสภาพอากาศที่ร้อนจัด หนาวจัด ฝนฟ้าคะนอง มลภาวะมาก สวมเสื้อผ้าที่เหมาะสม

bullet2.gif (105 bytes)ควรพักหากมีอาการแน่นหน้าอก คลื่นไส้ อาเจียน และไปพบแพทย์ 




4 มีนาคม 2556


เรียนภาษาไทยอย่างไรให็เก่ง

        เมื่อทุกคนลืมตามาดูโลก ก็จะได้รับการเลี้ยงดูจากพ่อแม่จนเติบใหญ่ย่างเข้าสู่วัยเรียน พฤติกรรมของคนที่แสดงออกมาก็คือความอยากรู้อยากเห็นในทุกสิ่งทุกอย่างที่ เกิดขึ้นกับการเปลี่ยนแปลงในชีวิตของตนเอง ตามสภาพแวดล้อม สังคม วัฒนธรรมจากโลกเล็ก ๆ ไปสู่โลกที่กว้างขึ้น ซึ่งในก้าวแรกที่จะต้องเผชิญก็คือการเรียน ทำให้เราได้พบกับผู้คนต่างฐานะ   ต่างระดับจากนั้นก็จะมีการศึกษาผู้คนที่เกี่ยวข้อง เพื่อปรับเปลี่ยนตัวเองให้เข้ากับสังคมได้  เมื่อเข้าสังคมได้แล้วก็ต้องหันมาสู่การเรียน เพื่อให้เกิดความรู้  ความรู้ที่ได้ก็คือการอ่านออก เขียนได้  คิดเป็น  ทำเป็น  แก้ปัญหาเป็น และช่วยชีวิตของตนเองให้ก้าวเดินไปในโลกใบนี้ได้อย่างปลอดภัย ไร้อุปสรรค การศึกษาที่เล่าเรียนมาก็จะนำไปใช้ในการประกอบอาชีพ ทำให้มีอาชีพที่มั่นคง  ดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข

        ปัจจุบันวิชาภาษาไทยไม่เป็นที่สนใจของนักเรียนเท่าที่ควร   ดูได้จากผลการสอบ NT  ระดับประเทศอยู่ในระดับต่ำ       จึงจำเป็นต้องพัฒนากระบวนการเรียนวิชาภาษาไทยของนักเรียนให้มีนิสัยรักการ เรียนและเรียนภาษาไทยได้ดีขึ้ ได้มีผู้โพสในเว็บบอร์ดของ board.dserver.org เช่นน้าไผ่ได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีเรียนภาษาไทยให้เก่งดังนี


            ๑. อ่านอย่างตั้งใจ
            ๒. อ่านไปสักย่อหน้ายาวหรือสองย่อหน้าสั้นแล้วรำลึกว่าที่อ่านไปแล้วพูดถึง เรื่องอะไร สันนิษฐานเองล่วงหน้าว่า      ทีเหลือน่าจะกล่าวถึงอะไรเขียนทายไว้ก่อนเป็นคำ ๆ ก็ได้
            ๓. ลืมตา อ่านต่อไปจนจบ ค้นดูว่า ที่เราสันนิษฐานไว้ มีปรากฏ อยู่ในตอนต่อ ๆ ไปที่เหลือของเรื่องนั้นหรือไม่
            ๔. ถ้าไม่พบสิ่งที่สันนิษฐานไว้ให้ทบทวนใหม่อีกรอบว่าที่อ่านมาแล้วกล่าวถึง เรื่องอะไรบ้าง เขียนประเด็นสำคัญ ๆ   ที่นึกได้มาตรวจสอบอีกครั้งว่ายังขาดตกในเรื่องอะไรบ้าง ทำเช่นนี้ไปจนได้ครบทุกประเด็น
            ๕. นำศัพท์ที่แปลกใหม่  สังเกตตัวสะกด  การันต์   วิเคราะห์ดูว่าศัพท์ตัวนี้สามารถแยกออกเป็นคำสองสามคำที่มีความหมายหรือไม่ รวมกันแล้วน่าจะแปลว่าอะไร สันนิษฐานเองก่อนโดยนำประโยคหรือย่อหน้ามาพิจารณาประกอบว่า          ถ้าแปลว่าอย่างนั้นแล้ว ความหมายมันจะขัดแย้งกับใจความในประโยคหรือย่อหน้าอื่นที่เกี่ยวข้องหรือไม่ ถ้าขัดแย้งลองปรับ    คำแปลใหม่  จนรู้สึกว่าไม่ขัดแย้งแล้ว เปิดพจนานุกรมตรวจสอบดูว่าเราจะแปลใช้ได้ไหม ถ้าตรงกับที่เราแปลอยู่ด้วย ก็ให้ยิ้มได้เลย
            ๖. เขียนประโยคหรือข้อความใหม่ที่ประกอบด้วยศัพท์คำนั้น เทียบกับประโยคที่มีอยู่ว่าจัดวางคำศัพท์ไว้ได้ถูกต้องตามตำแหน่งที่ควรหรือ ไม่
            ๗. ถ้าเป็นฉันทลักษณ์ ก็สังเกตจำนวนคำ จำนวนวรรค คำสัมผัส ในบทประพันธ์บทเดิม แล้วลองแต่งของตัวเองดูบ้าง
        ถ้ามีประโยคยาว ๆ ลองหัดแยกดู ว่าจะสามารถแยกออกเป็นสองสามประโยคหรือไม่ ถ้าแยกได้ ประโยคไหนน่าจะทำ
หน้าที่เป็นประโยคหลัก ประโยคไหนทำหน้าที่เป็นส่วนขยายของอีกประโยคหนึ่ง ลองหัดแต่งประโยคยาว ๆ แบบนั้นดูเองบ้าง
       
 จากที่กล่าวข้างต้น   ยังมีปัจจัยอื่นอีกที่จะช่วยให้นักเรียนเรียนภาษาไทยให้เก่งได้  โดยตนเอง มีความขยันใฝ่เรียนรู้     อยู่แล้ว ผู้ปกครองก็ต้องคอยดูแล เอาใจใส่  สนับสนุน ให้กำลังใจในการฝึกฝนให้เด็กอ่านหนังสือ  ทำการบ้านอยู่เสมอ          จะเป็นการช่วยสร้างนิสัยการรักการอ่านให้แก่เด็ก  ผลที่เกิดแก่เด็กก็คือสามารถคิดวิคราะห์  สังเคราะห์เรื่องที่อ่านได้  อันจะนำไปสู่การเรียนรู้วิชาอื่น ๆ อีกด้วย ด้านครูผู้สอนก็ใช้สื่อนวัตกรรมที่หลากหลาย น่าสนใจ ชวนติดตาม เป็นการยั่วยุให้เด็กเรียนสนุกไม่เบื่อที่จะเรียนนอกจากนี้ก็ยังมีเพื่อนที่ คอยช่วยเหลือซึ่งกันและกันอันจะนำไปสู่ความสำเร็จในการเรียนภาษาไทย  ให้เก่งได้

เพิ่มคำอธิบายภาพสอนภาษาไทยอย่างไรจึงจะสนุก

ช่วยกันทำให้เด็กๆอยากเรียนภาษาไทยกันดีกว่า
ก่อนอื่นเริ่มจากตัวครูผู้สอนก่อนอันดับแรก แล้วตัวครูจะต้องทำอย่างไรบ้างนะเหรอคะ
1.  ยิ้มแย้ม แจ่มใสค่ะ แต่งตัวให้ดูดีเข้าไว้ เป็นการสร้างความมั่นใจให้กับตนเอง และยังทำให้ห้องเรียนมีชีวิตชีวามากขึ้น เพราะภาพลักษณ์ครูภาษาไทย ส่วนใหญ่จะสวมแว่นหนาเตอะ แต่งตัวเชย หน้าบึ้ง เนี๊ยบทุกอย่าง
2.  มีความกระตือรือร้นที่จะค้นคว้าหาความรู้ให้กับตนเองเสมอ เป็นนักอ่านตัวยงเลยหล่ะคะ
3.  เป็นนักพูดที่มีเทคนิคการพูดที่น่าฟัง พูดเพราะ พูดเสริมแรง รู้จักการพูดให้กำลังใจ
4.  เป็นนักคิด คิดเสมอว่าทำยังไงเด็กๆจึงจะอ่านออก เขียนได้ คิดเป็น ทำเป็น โดยที่ตัวเด็กๆเองรู้สึกชอบและอยากทำเอง
5.  เป็นนักปั้นมือทอง ครูจะรู้อยู่แล้วว่าเด็กๆของตนเองเก่งด้านไหน เราก็ต้องช่วยส่งเสริมด้านนั้นให้มากที่สุด ส่วนด้านไหนที่ต้องการพัฒนา ก็ต้องช่วยเหลือให้ถึงที่สุดเช่นกัน
6.  เป็นพิธีกรจำเป็น จัดเวทีให้นักเรียนแสดงคิด ความความสามารถของตนเอง คอยชื่นชมให้กำลังใจและให้คำแนะนำดีๆ

เทคนิคการสอนภาษาไทยที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

                เทคนิคหลากหลายลีลาภาษาไทย   เป็นรูปแบบการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  ขั้นตอนการสอนประกอบด้วย 5 ขั้นตอนดังนี้
    1. ปลุกใจให้เริงร่า   เป็นขั้นเตรียมความพร้อมที่จะให้นักเรียนอยากเรียนรู้เรื่องใหม่ในชั่วโมง นั้นๆ  ซึ่งการปลุกใจให้นักเรียนอยากเรียนรู้ เช่น การนำเพลง  เกม นิทาน  มานำเข้าสู่บทเรียนจะทำให้นักเรียนเกิดความสนุกสนาน และพร้อมที่จะเรียนรู้
    2.  ดึงเนื้อหามาสัมพันธ์  เป็นการนำเสนอเนื้อหาเดิมเชื่อมโยงมาสู่เนื้อหาใหม่ ที่ต้องการให้นักเรียนเรียนรู้
    3.  บูรณาการหลากหลาย   เป็นการจัดการเรียนรู้ที่นำกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยเป็นแกน แล้วดึงกลุ่มสาระอื่นๆเข้ามาเชื่อมโยงในเนื้อหาที่เรียนรู้ในชั่วโมงนั้นๆ  เช่น ศิลปะ  คณิตศาสตร์ ฯลฯ 
    4.  สรุปสิ่งที่ได้เป็นเกมต่างๆ   เป็นการนำเนื้อหาที่เรียนรู้ไปแล้วให้นักเรียนสรุปเนื้อหาที่ครูสอนไปแล้ว  โดยใช้เกมมาประกอบในการสรุปเนื้อหา เป็นการเล่นอย่างมีความรู้นั่นเอง
    5.  เด็กสร้างชิ้นงานตามศักยภาพ   เป็นการนำเสนอเนื้อหาที่นักเรียนเรียนรู้ว่านักเรียนเข้าใจเนื้อหามากน้อย เพียงใด โดยทำในรูปหนังสือเล่มเล็ก  นิทานหน้าเดียว  หนังสือสามมิติ ฯลฯ

 

3 มีนาคม 2556

โครงงาน เรื่องอ่างล้างจานรักษาสิ่งแวดล้อม


โครงงานเรื่อง  อ่างล้างจานรักษาสิ่งแวดล้อม
บทที่ 1
บทนำ
ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
น้ำมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของสิ่งมีชีวิต ทั้งในด้านอุปโภคและบริโภคแต่ในปัจจุบันมนุษย์ใช้น้ำอย่างไม่คำนึงถึงความสำคัญของน้ำ ซึ่งมนุษย์ส่วนใหญ่นั้นเห็นแก่ตัว มักง่าย เช่น ใช้ในการชำระล้างร่างกาย และสิ่งของเครื่องใช้แล้วก็ปล่อยน้ำเสียลงสู่แม่น้ำ ลำคลอง โดยไม่มี  การกรองหรือการบำบัดก่อนปล่อยลงสู่แม่น้ำ  ซึ่งก่อให้เกิดมลพิษทางน้ำ
จากข้อความข้างตนเป็นการยกตัวอย่างบางส่วนของการกระทำของมนุษย์ในปัจจุบันเท่านั้น
  จะเห็นได้ว่ามนุษย์นั้นปล่อยน้ำเสียลงสู่แม่น้ำ ลำคลอง โดยตรงเป็นส่วนใหญ่ซึ่งถ้าไม่มีการกรองน้ำเสียหรือการบำบัดน้ำเสียก่อนปล่อยลงสู่แม่น้ำ ลำคลอง จะก่อให้เกิดมลพิษทางน้ำ ซึ่งมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิต ทั้งที่อยู่ในน้ำและบนบก ทำให้ความหลากหลายของชนิดพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้นลดลง สัตว์น้ำขาดออกซิเจนตายแล้วทำให้น้ำเน่าเสีย มนุษย์ก็ต้องรับประทานสัตว์น้ำที่มีสารเคมีเจือปนอยู่ในตัวสัตว์น้ำ เป็นต้น เพราะฉะนั้นมนุษย์จึงควรช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อมทางน้ำ โดยการบำบัดน้ำให้มีคุณภาพดีขึ้นก่อนปล่อยลงสู่แม่น้ำ ลำคลอง ด้วยเหตุนี้คณะผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์จึงได้คิดประดิษฐ์อ่างล้างจานรักษาสิ่งแวดล้อม เพื่อช่วยลดปัญหามลพิษทางน้ำที่เกิดจากความมักง่ายและความเห็นแก่ตัวของมนุษย์ในสังคมยุคปัจจุบัน และยังรักษาสิ่งแวดล้อมให้ดำรงไว้
จุดมุ่งหมายของโครงงาน
1.             เพื่อประดิษฐ์อุปกรณ์ล้างจานบำบัดน้ำเสีย
2.             เพื่อบำบัดน้ำเสียที่เหลือทิ้งจากการล้างจานก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน้ำ
3.             เพื่อเป็นแนวทางในการประดิษฐ์อ่างล้างจานบำบัดน้ำเสีย และผู้อื่นสามารถศึกษาและนำไปพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นต่อไป
4.             เพื่อศึกษาทักษะกระบวนการแก้ปัญหาด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์  คือ ฝึกการคิดวิเคราะห์สังเคราะห์และสร้างสรรค์
5.             เพื่อฝึกการทำงานเป็นหมู่คณะ
สมมติฐาน
อ่างล้างจานบำบัดน้ำเสียสามารถทำให้น้ำที่เหลือทิ้งจากการล้างจานมีคุณภาพดีขึ้นได้
นิยามเชิงปฏิบัติการ
คุณภาพของน้ำที่ดีในการทดลองครั้งนี้ หมายถึง น้ำที่ใส ไม่มีสี ไม่มีเศษตะกอน  มีคุณสมบัติเป็นกลาง ไม่มีสารตกค้าง ซึ่งทดสอบได้โดยใช้สารเคมี ใช้ประสาทสัมผัส ใช้การดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก และใช้เครื่องมือวัดค่า  pH
ขอบเขตการศึกษาค้นคว้า
1.             น้ำเหลือทิ้งจากการล้างจานที่นำมาทดลองได้มาจากน้ำล้างจานของร้านข้าวแกงในโรงเรียนวัดราชาธิวาส ร้านรัตนา ซึ่งเก็บในวันที่  20 พ.ย. 2550  เวลา  13.20 น.
2.             การตรวจสอบคุณภาพของน้ำในที่นี้ ตรวจสอบสารที่ปนเปื้อนน้ำเพียง 5 ชนิด ได้แก่ แป้ง ,น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว , ไขมัน , โปรตีน , แคลเซียม
3.             คุณภาพของน้ำที่ได้จากการทดลองครั้งนี้ หมายถึง น้ำที่ใส ไม่มีสี ไม่มีเศษตะกอน  มีคุณสมบัติเป็นกลาง ไม่มีสารตกค้าง ซึ่งทดสอบได้โดยใช้สารเคมี ใช้ประสาทสัมผัส ใช้การดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก และใช้เครื่องมือวัดค่า  pH

บทที่
  2
เอกสารและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
มลพิษ  หมายความว่า ของเสีย วัตถุอันตรายและมวลสารอื่นๆ รวมทั้งกากตะกอนหรือสิ่งตกค้างเหล่านั้น ที่ถูกปล่อยทิ้งจากแหล่งกำเนิดมลพิษ หรือที่มีอยู่ในสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ ซึ่งอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมหรือภาวะที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนได้ และให้หมายถึง รังสี ความร้อน แสง เสียง คลื่น ความสั่นสะเทือน หรือเหตุรำคาญอื่นๆ ที่เกิดหรือปล่อยออกจากแหล่งน้ำต้นกำเนิดมลพิษ
ของเสีย
  หมายความว่า  ขยะมูลฝอยสิ่งปฏิกูล น้ำเสีย อากาศเสีย มวลสาร หรือวัตถุอันตรายอื่นใด ซึ่งถูกปล่อยทิ้งหรือมีที่มาจากแหล่งกำเนิดมลพิษรวมทั้งกากตะกอนหรือสิ่งตกค้างจากสิ่งเหล่านั้น ที่อยู่ในสภาพของแข็งของเหลว หรือก๊าซ
น้ำเสีย
  หมายความว่า  ของเสียที่อยู่ในสภาพเป็นของเหลวรวมทั้งมวลสารที่ปะปนหรือปนเปื้อนอยู่ในของเหลวนั้น
จำแนกประเภทของมลพิษทางน้ำ
         มลพิษทางน้ำสามารถจำแนกออกได้ดังนี้
1.             น้ำเน่า  ได้แก่ น้ำที่มีปริมาณออกซิเจนละลายในน้ำต่ำ มีสีดำคล้ำและอาจส่งกลิ่นเหม็น น้ำประเภทนี้เป็นอันตรายต่อการบริโภค การประมง และทำให้สูญเสียคุณค่าทางการพักผ่อนของมนุษย์
2.             น้ำเป็นพิษ  ได้แก่  น้ำที่มีสารพิษเจือปนอยู่ในระดับที่อาจเป็นอันตรายต่อชีวิตมนุษย์และ   สัตว์น้ำ เช่น สารประกอบของปรอท ตะกั่ว  สารหนู แคดเมี่ยม ฯลฯ
3.             น้ำที่มีเชื้อโรค ได้แก่ น้ำที่มีเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส ฯลฯ เช่น เชื้ออหิวาตกโรค เชื้อบิด เชื้อไข้ไทฟอยด์ เจือปนอยู่ เป็นต้น
4.             น้ำขุ่นข้น ได้แก่ น้ำที่มีตะกอนดินและทรายเจือปนอยู่เป็นจำนวนมากจนเป็นอันตรายต่อ  สัตว์น้ำ  และเป็นอุปสรรคต่อการใช้ประโยชน์ของมนุษย์
5.             น้ำร้อน ได้แก่ น้ำที่ได้รับการถ่ายเทความร้อนจากน้ำทิ้ง จนมีอุณหภูมิที่สูงกว่าที่ควรจะเป็นไปตามธรรมชาติ ส่วนใหญ่เกิดจากการระบายน้ำหล่อเย็นจากโรงงานอุตสาหกรรมลงสู่แหล่งน้ำ ซึ่งจะมีผลกระทบต่อการดำรงชีวิต และการแพร่พันธุ์ของสัตว์น้ำ ตลอดจนสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ
6.             น้ำที่มีกัมมันตภาพรังสี ได้แก่ น้ำที่มีสารกัมมันตภาพรังสีเจือปนในระดับที่เป็นอันตราย
7.             น้ำกร่อย ได้แก่ น้ำจืดที่เสื่อมคุณภาพเนื่องจากการละลายของเกลือในดินหรือน้ำทะเลไหลหรือซึมเข้าเจือปน
8.             น้ำที่มีคราบน้ำมัน ได้แก่ น้ำมันหรือไขมันเจือปนอยู่มาก
ลักษณะของมลพิษทางน้ำ
น้ำที่เกิดภาวะมลพิษจะมีองค์ประกอบของคุณภาพน้ำที่แตกต่างจากน้ำดี ซึ่งจะมีดัชนีต่างๆ เป็นตัวบ่งบอก สมารถแยกออกเป็น 3 ลักษณะใหญ่ ๆ คือ
 1.  ลักษณะทางกายภาพ
ลักษณะทางกายภาพ หมายถึง ลักษณะของมลพิษทางน้ำที่สามารถรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้า มีดัชนีบ่งบอกลักษณะทางกายภาพที่สำคัญได้แก่
1.1 อุณหภูมิ (
Temperature ) เป็นปัจจัยหนึ่งที่มีอิทธิพลโดยตรงและโดยอ้อมต่อการดำรงชีวิตของสัตว์น้ำ โดยปกติอุณหภูมิของน้ำจะเปลี่ยนแปลงตามอุณหภูมิของอากาศ ซึ่งขึ้นอยู่กับฤดูกาล ระดับความสูงและสภาพภูมิประเทศ นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับความเข้มของแสงอาทิตย์ กระแสลม ความลึก ปริมาณสารแขวนลอยหรือความขุ่นและสภาพแวดล้อมทั่ว ๆ ไปของแหล่งน้ำ สำหรับประเทศไทยอุณหภูมิจะแปรผันในช่วง 20 30 องศาเซลเซียส การปล่อยน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมที่มีอุณหภูมิสูงลงสู่แหล่งน้ำหรือน้ำจากระบบหล่อเย็นจะทำให้อุณหภูมิของน้ำสูงกว่าระดับปกติตามธรรมชาติซึ่งมีผลกระทบกระเทือนต่อสัตว์น้ำและระบบนิเวศวิทยาของแหล่งน้ำบริเวณดังกล่าว  นอกจากนี้อุณหภูมิของน้ำยังมีผลต่อสภาพแวดล้อมทางเคมีภาพ  เช่น ออกซิเจนละลายในน้ำ คือ ปริมาณออกซิเจนละลายในน้ำจะลดลง  ถ้าอุณหภูมิของน้ำสูงขึ้นในขณะเดียวกันขบวนการเมตตาโบลิซึมและการทำงานของพวกจุลินทรีย์ต่างๆ ในน้ำก็จะเพิ่มขึ้น
ดังนั้นจึงทำให้ความต้องการปริมาณออกซิเจนละลายในน้ำสูงขึ้น จึงอาจเกิดปัญหาการขาดแคลนออกซิเจนขึ้นได้
  นอกจากนี้ยังมีผลกระทบทางอ้อม เช่น อุณหภูมิของน้ำที่สูงขึ้นจะทำให้พิษของสารพิษต่าง ๆ มีความรุนแรงมากขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากอุณหภูมิสูงช่วยเร่งการดูดซึมการแพร่กระจายของพิษสู่ร่างกายได้เร็วขึ้น อย่างไรก็ตามสารพิษบางชนิดจะมีพิษลดลงเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นทั้งนี้เนื่องจากอุณหภูมิไปทำปฏิกิริยาย่อยสลายและกำจัดสารพิษออกนอกร่างกายได้เร็วกว่าปกติ  นอกจากนี้ยังทำให้ความต้านทานโรคของสัตว์น้ำเปลี่ยนแปลงไป  เชื้อโรคบางชนิดสามารถแพร่กระจายได้ดีในระดับอุณหภูมิที่แตกต่างกัน ( ไมตรี  และคณะ , 2528 )
1.2
  สี ( Colour ) การตรวจสีของน้ำในบางครั้งนิยมปฏิบัติกัน เนื่องจากสามารถแสดงให้เห็นอย่างคร่าว ๆ เกี่ยวกับกำลังการผลิต สภาพแวดล้อมและสารแขวนลอยที่มีอยู่ในแหล่งน้ำนั้น สีของน้ำเกิดจากการสะท้อนของแสง จำแนกได้  2  ประเภท  คือ
1) สีจริง (
True  Colour )เป็นสีของน้ำที่เกิดจากสารละลายชนิดต่างๆ อาจจะเป็นสารละลายจากพวกอนินทรีย์สารหรือพวกอินทรีย์สารซึ่งทำให้เกิดสีของน้ำ สีจริงไม่สามารถแยกออกได้โดยการตกตะกอน และการกรอง
2) สีปรากฏ (
Apparent colour ) เป็นสีของน้ำที่เกิดขึ้นแล้วเราสามารถมองเห็นได้ชัดเจน ส่วนใหญ่เกิดจากตะกอนของน้ำ สารแขวนลอย เศษซากพืชซากสัตว์ที่ตายทับถมในน้ำก็เป็นตัวการสำคัญที่ก่อให้เกิดสีของน้ำได้
1.3 ความขุ่น (
Turbidity ) ความขุ่นของน้ำจะแสดงให้เห็นว่ามีสารแขวนลอยอยู่มากน้อยเพียงใด สารแขวนลอยที่มีอยู่ เช่น ดินละเอียด อินทรีย์สารอนินทรีย์สาร แพลงก์ตอนและสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ  สารเหล่านี้จะกระจายและขัดขวางไม่ให้แสงส่องลงไปได้ลึก โดยสารเหล่านี้จะดูดซับเอาแสงไว้
1.4
  กลิ่น (Oder ) กลิ่นจากน้ำเสียส่วนมากแล้วมากจากก๊าซที่เกิดจากการย่อยสลายของสารอินทรีย์ในน้ำเสีย ก๊าซส่วนใหญ่จะเป็น H2S ที่เกิดจากจุลินทรีย์ชนิดที่ไม่ต้องการออกซิเจน
1.5
  รส ( Taste ) น้ำสะอาดตามธรรมชาติจะไม่มีรส การที่น้ำมีรสผิดไปเนื่องจากมีสารอินทรีย์หรือสารอนินทรีย์ปะปนอยู่ เช่น น้ำที่มีรสกร่อย ทั้งนี้เนื่องจากมีเกลือคลอไรด์ละลายอยู่ในน้ำนั้นในปริมาณสูง
2.  ลักษณะทางเคมีภาพ
ลักษณะทางเคมีภาพ หมายถึง ลักษณะของมลพิษทางน้ำที่เกิดจากการที่น้ำมีสารเคมีเจือปนจนทำให้เกิดสภาวะทางเคมีขึ้นในน้ำ มีดัชนีบ่งบอกลักษณะทางเคมีภาพที่สำคัญได้แก่
2.1 การนำไฟฟ้า (
Conductivity ) เป็นลักษณะของน้ำที่บอกถึงความสารถของน้ำที่จะให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่าน  ซึ่งขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของสารที่มีประจุไฟฟ้าในน้ำ  ความนำไฟฟ้าไม่ได้เป็นค่าเฉพาะอิออนตัวใดตัวหนึ่ง แต่เป็นค่ารวมของอิออนทั้งหมดในน้ำ ค่านี้ไม่ได้บอกให้ทราบถึงชนิดของสารในน้ำ บอกแต่เพียงว่ามีการเพิ่มหรือลดของอิออนที่ละลายน้ำเท่านั้น กล่าวคือ ถ้าค่าความนำไฟฟ้าเพิ่มขึ้นแสดงว่ามีสารที่แตกตัวในน้ำเพิ่มขึ้นหรือถ้าค่าความนำไฟฟ้าลดลงก็แสดงว่าสารที่แตกตัวได้ในน้ำลดลง  ความนำไฟฟ้านิยมวัดออกมาในรูปอัตราส่วนของความต้านทาน โดยหน่วยเป็น Microsiemen  หรือ us/cm อุณหภูมิจะมีผลต่อการแตกตัวของอิออน อุณหภูมิสูง ค่าการแตกตัวจะมากขึ้น ความนำไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้น
2.2 ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (
pH)  เป็นค่าที่แสดงความเป็นกรดหรือด่างของน้ำ น้ำที่มีสภาพเป็นกรดจะมีค่าความเป็นกรดเป็นด่างน้อยกว่า  7  และน้ำที่เป็นด่างจะมีค่าความเป็นกรดเป็นด่างมากกว่า 7  น้ำคามธรรมชาติจะมีค่าความเป็นกรดเป็นด่างอยู่ระหว่าง 6.5 8.5  ซึ่งความแตกต่างของ pH  ขึ้นอยู่กับลักษณะของภูมิประเทศและสภาพแวดล้อมหลายประการ เช่น ลักษณะของพื้นดินและหิน ปริมาณ ฝนตกตลอดจนการใช้ที่ดินในบริเวณแหล่งน้ำ ระดับ pH ของน้ำจะเปลี่ยนแปลงตาม pH ของดินด้วย นอกจากนี้สิ่งที่มีชีวิตในน้ำ เช่น จุลินทรีย์และแพลงก์ตอนพืช ก็สามารถทำให้ค่า pH ของน้ำเปลี่ยนแปลงไปด้วย
2.3 ออกซิเจนละลายในน้ำ (
Dissolved  Oxygen;DO ) หมายถึง เป็นค่าที่บ่งบอกถึงปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำ ซึ่งออกซิเจนจะมีความสำคัญมากต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ ปริมาณออกซิเจนในน้ำจะเปลี่ยนแปลงไปตามอุณหภูมิของน้ำและความกดดันของบรรยากาศ  ในฤดูร้อนปริมาณของออกซิเจนที่ละลายในน้ำน้อยลงเพราะว่าอุณหภูมิสูงขณะเดียวกันที่การย่อยสลายและปฏิกิริยาต่าง ๆ จะเพิ่มมากขึ้น ทำให้ความต้องการของออกซิเจนเพื่อไปใช้กิจกรรมเหล่านั้นสูงไปด้วย  ในแหล่งน้ำธรรมชาติจะมีออกซิเจนละลายอยู่ระหว่าง 5 7  มิลลิกรัมต่อลิตร
2.4 บีโอดี (
Biochemical Oxygen Demand;BOD ) เป็นค่าที่บอกถึงปริมาณของออกซิเจนที่ถูกใช้ในการย่อยสลายอินทรีย์ชนิดที่ย่อยสลายได้ ภายใต้สภาวะที่มีออกซิเจน โดยจุลินทรีย์ในช่วงเวลา 5 วันที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส เป็นค่าที่นิยมใช้กันมากในการแสดงถึงความสกปรกมากน้อยเพียงใดของน้ำเสียจากชุมชนและโรงงานต่าง ๆ เป็นค่าที่สำคัญมากในการออกแบบและควบคุมระบบบำบัดน้ำเสียโดยทางชีวภาพ สามารถใช้บ่งบอกถึงค่าภาระอินทรีย์และใช้ในการหาประสิทธิภาพของระบบบำบัดน้ำเสีย การวัดค่าของ BOD ยังใช้สำหรับการตรวจสอบคุณภาพของน้ำในแม่น้ำลำคลองอีกด้วย
2.5 ซีโอดี (
Chemical Oxyhen Demand;COD )  เป็นค่าที่บ่งบอกถึงปริมาณของออกซิเจนที่ต้องการใช้ในการทำปฏิกิริยาออกซิไดซ์สารอินทรีย์ในน้ำ  โดยใช้สารเคมีที่มีอำนาจในการออกซิไดซ์ได้สูง เช่น โปแตสเซียมไดโครเมต (K2Cr207) ในสภาพสารละลายที่เป็นกรด สารอินทรีย์ชนิดทั้งที่จุลินทรีย์ย่อยสลายได้หรือไม่ได้จะถูกออกซิไดซ์หมด ค่าซีโอดีมักจะมากกว่าค่าบีโอดีอยู่เสมอ  ค่าซีโอดีจึงเป็นค่าที่บ่งบอกถึงความสกปรกของน้ำเช่นเดี่ยวกันกับค่าบีโอดี  สำหรับประโยชน์ของการหาค่า  COD คือใช้เวลาของการวิเคราะห์น้อย สามารถหาค่าได้เลยในห้องปฏิบัติการ แต่สำหรับ BOD ต้องใช้เวลาถึง 5 วัน จึงจะทราบผล
3. ลักษณะทางชีวภาพ
     ลักษณะทางชีวภาพ หมายถึง  ลักษณะของมลพิษทางน้ำที่เกิดจากการมีสิ่งมีชีวิตชนิดใดชนิดหนึ่งปะปนในน้ำ  และเป็นพิษต่อมนุษย์และสัตว์น้ำได้ ดัชนีบ่งบอกลักษณะทางชีวภาพ ได้แก่ แพลงก์ตอนพืช-สัตว์ แบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคติดต่อทางน้ำและอาหาร เชื้อไวรัส เชื้อราและพวกหนอนพยาธิต่าง ๆ
ผลกระทบเนื่องจากมลพิษทางน้ำ
1.             ผลกระทบต่อการเกษตรกรรม
2.             ผลกระทบต่อการประมง
3.             ผลกระทบต่อการสาธารณสุข ก่อให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บ
4.             ผลกระทบต่ออุตสาหกรรม
5.             ผลกระทบต่อการผลิตน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค
6.             ผลกระทบต่อการคมนาคม
7.             ผลกระทบต่อทัศนียภาพ
8.             ผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคม
น้ำเสีย  หมายถึง น้ำที่มีสารใด ๆ หรือสิ่งปฏิกูลที่ไม่พึงปรารถนาปนอยู่  การปนเปื้อนของสิ่งสกปรกเหล่านี้ จะทำให้คุณสมบัติของน้ำเปลี่ยนแปลงไปจนอยู่ในสภาพที่ไม่สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้ สิ่งปนเปื้อนที่อยู่ในน้ำเสีย ได้แก่ น้ำมัน ไขมัน ผลซักฟอก สบู่ ยาฆ่าแมลง สารอินทรีย์ที่ทำให้เกิดการเน่าเหม็นและเชื้อโรคต่าง ๆ  สำหรับแหล่งที่มาของน้ำเสียพอจะแบ่งได้เป็น 2 แหล่งใหญ่ ๆ ดังนี้
1. น้ำเสียจากแหล่งชุมชน มาจากกิจกรรมสำหรับการดำรงชีวิตของคนเรา เช่น อาคารบ้านเรือน หมู่บ้านจัดสรร คอนโดมิเนียม โรงแรม ตลาดสด โรงพยาบาล เป็นต้น จากการศึกษาพบว่าความเน่าเสียของคูคลองเกิดจากน้ำเสียประเภทนี้ ถึงกรรมวิธีในการบำบัดน้ำเสีย การบำบัดน้ำเสียให้เป็นน้ำที่สะอาดก่อนปล่อยทิ้งเป็นวิธีการหนึ่งในการแก้ไขปัญหาแม่น้ำลำคลองเน่าเสีย
 โดยอาศัยกรรมวิธีต่างๆ เพื่อลดหรือทำลายความสกปรกที่ปนเปื้อนอยู่ในห้องน้ำ ได้แก่ ไขมัน น้ำมัน สารอินทรีย์ สารอนินทรีย์ สารพิษ รวมทั้งเชื้อโรคต่าง ๆให้หมดไปหรือให้เหลือน้อยที่สุดเมื่อปล่อยทิ้งลงสู่แหล่งน้ำก็จะไม่ทำให้แหล่งน้ำนั้นเน่าเสียอีกต่อไป
ขั้นตอนในการบำบัดน้ำเสีย
      เนื่องจากน้ำเสียมีแหล่งที่มาแตกต่างกันจึงทำให้มีปริมาณและความสกปรกของน้ำเสียแตกต่างกันไปด้วย ในการปรับปรุงคุณภาพของน้ำเสียจำเป็นจะต้องเลือกวิธีการที่เหมาะสมสำหรับกรรมวิธีในการปรับปรุงคุณภาพของน้ำเสียนั้นก็มีหลายวิธีด้วยกัน โดยพอจะแบ่งขั้นตอนในการบำบัดออกได้ดังนี้
การบำบัดน้ำเสียขั้นเตรียมการ (Pretreatment )
       เป็นการกำจัดของแข็งขนาดใหญ่ออกเสียก่อนที่น้ำเสียจะถูกปล่อยเข้าสู่ระบบบำบัดน้ำเสีย เพื่อป้องกันการอุดตันท่อน้ำเสียและเพื่อไม่ทำความเสียหายให้แก่เครื่องสูบน้ำ การบำบัดในขั้นนี้ ได้แก่ การดักด้วยตะแกรง เป็นการกำจัดของแข็งขนาดใหญ่โดยใช้ตะแกรง ตะแกรงที่ใช้โดยทั่วไปมี 2 ประเภทคือ ตะแกรงหยาบและตะแกรงละเอียด การบดตัดเป็นการลดขนาดหรือปริมาตรของแข็งให้เล็กลง ถ้าสิ่งสกปรกที่ลอยมากับน้ำเสียเป็นสิ่งที่เน่าเปื่อยได้ต้องใช้เครื่องบดตัดให้ละเอียด ก่อนแยกออกด้วยการตกตะกอน การดักกรวดทรายเป็นการกำจัดพวกกรวดทรายทำให้ตกตะกอนในรางดักกรวดทราย  โดยการลดความเร็วน้ำลง การกำจัดไขมันและน้ำมันเป็นการกำจัดไขมันและน้ำมันซึ่งมักอยู่ในน้ำเสียที่มาจากครัว โรงอาหาร ห้องน้ำ ปั้มน้ำมัน และโรงงานอุตสาหกรรมบางชนิดโดยการกักน้ำเสียไว้ในบ่อดักไขมันในช่วงเวลาหนึ่งเพื่อให้น้ำมันและไขมันลอยตัวขึ้นสู่ผิวน้ำแล้วใช้เครื่องตักหรือกวาดออกจากบ่อ
การบำบัดน้ำเสียขั้นที่สอง (
Secondary Treatment )
       เป็นการกำจัดน้ำเสียที่เป็นพวกสารอินทรีย์อยู่ในรูปสารละลายหรืออนุภาคคอลลอยด์ โดยทั่วไปมักจะเรียกการบำบัด ขั้นที่สองว่า การบำบัดน้ำเสียด้วยขบวนการทางชีววิทยา เนื่องจากเป็นขั้นตอนที่ต้องอาศัยจุลินทรีย์ในการย่อยสลายหรือทำลายความสกปรกในน้ำเสีย  การบำบัดน้ำเสียในปัจจุบันนี้อย่างน้อยจะต้องบำบัดถึงขั้นที่สองนี้  เพื่อให้น้ำเสียที่ผ่านการบำบัดแล้วมีคุณภาพมาตรฐานน้ำทิ้งที่ทางราชการกำหนดไว้ การบำบัดน้ำเสียด้วยขบวนการทางชีววิทยาแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ขบวนการที่ใช้ออกซิเจน เช่น ระบบบ่อเติมอากาศ ระบบแคติเวคเตดสลัดจ์ ระบบแผ่นหมุนชีวภาพ ฯลฯ และ ขบวนการที่ไม่ใช้ออกซิเจน เช่น ระบบถังกรองไร้อากาศ ระบบถังหมักตะกอน ฯลฯ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของจุลินทรีย์ที่ทำหน้าที่ย่อยสลาย
การบำบัดน้ำเสียขั้นสูง ( Advanced Treatment )
       เป็นการบำบัดน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดในขั้นที่สองมาแล้ว เพื่อกำจัดสิ่งสกปรกบางอย่างที่ยังเหลืออยู่ เช่น โลหะหนัก หรือเชื้อโรคบางชนิดก่อนจะระบายทิ้งลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะ การบำบัดขั้นนี้มักไม่นิยมปฏิบัติกัน เนื่องจากมีขั้นตอนที่ยุ่งยากและเสียค่าใช้จ่ายสูง นอกจากผู้บำบัดจะมีวัตถุประสงค์ในการนำน้ำที่บำบัดแล้วกลับคืนมาใช้อีกครั้ง ประมาณ75%
เครื่องกรองน้ำจากเส้นใยพืช
       พิสูจน์ว่า เส้นใยพืชชนิดใดมีประสิทธิภาพในการกรองของเสียได้มากที่สุด โดยเส้นใยของพืชที่นำมาใช้ในการทดลองมีดังนี้
1. ผักตบชวา
2. กาบกล้วย
3. เปลือกมะพร้าว
4. ผักกระเฉด
     โดยการเทน้ำทิ้งจากครัวลงในภาชนะที่มีเส้นใยชนิดต่าง ๆ สังเกตและวัดค่า pH ของน้ำ  โดยทำการทดลอง 2 ชุด  ชุดแรกจะใช้เส้นใยตามธรรมชาติ และชุดที่ 2 จะใช้เส้นใยที่ได้จากการปั่น ผลการศึกษาพบว่าเส้นใยของผักตบชวาที่มีในธรรมชาติมีประสิทธิภาพในการกรองน้ำที่ดีที่สุด รองลงมาคือเส้นใยของกาบกล้วยตามธรรมชาติ เส้นใยกาบกล้วยที่ได้จากการปั่น เส้นใยผักกระเฉดที่ได้จากการปั่น เส้นใยผักกระเฉดจากธรรมชาติ เส้นใยเปลือกมะพร้าวจากธรรมชาติ เส้นใยผักตบชวาจากการปั่น และเส้นใยเปลือกมะพร้าวจากการปั่น ตามลำดับ  โดยค่า  pH  ไม่แตกต่างกัน
ชุดเครื่องกรองน้ำอย่างง่าย
      น้ำคลองมีสารที่ไม่ละลายน้ำปนอยู่และแม้จะตั้งทิ้งไว้เป็นเวลานาน สารเหล่านั้นก็ยังไม่ตกตะกอน แต่เราสามารถใช้สารส้มเป็นตัวทำให้สารเหล่านั้นรวมตัวกันจมสู่ก้นภาชนะได้ วิธีนี้เรียกว่า การทำให้ตกตะกอน ซึ่งยังคงเป็นวิธีที่ใช้กันมาก เพราะเป็นวิธีที่ค่อนข้างสะดวกและเสียค่าใช้จ่ายน้อย
      วิธีการกรองเป็นวิธีที่ใช้แยกสารที่ไม่ละลายน้ำออกจากน้ำหรือของเหลวเมื่อเราเทน้ำหรือของเหลวผ่านกระดาษกรอง น้ำหรือของเหลวจะผ่านกระดาษกรองลงไป ส่วนสารที่ไม่ละลายน้ำมีขนาดใหญ่กว่ารูของกระดาษกรองจึงไม่สามารถผ่านกระดาษกรองได้  ปัจจุบันมีการประดิษฐ์เครื่องกรองที่ใช้วัสดุต่าง ๆ กัน  เครื่องกรองบางชนิดใช้ไส้กรองซึ่งทำด้วยเซรามิกส์ที่มีรูพรุนขนาดเล็ก บางชนิดใช้สารดูดซับสีและสารเจือปนในน้ำ เพื่อทำให้น้ำมีความสะอาดมากขึ้น  บางชนิดใส่ถ่านกัมมันต์ ( คือ ถ่านชนิดหนึ่งที่ได้รับการเพิ่มคุณภาพมากขึ้นโดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย ถ่านกัมมันต์ทำจากแกลบ กะลามะพร้าว ขี้เลื่อย ชานอ้อย กระดูกหรือเขาสัตว์ ) เพื่อดูดสีและกลิ่น  นอกจากนี้เครื่องกรองบางชนิดอาจใส่วัสดุหลาย ๆ ชนิดผสมกันก็ได้  โดยเครื่องกรองน้ำคลองจัดทำขึ้นเพื่อช่วยลดปัญหาน้ำขุ่นจากตะตอนดิน และสามารถนำน้ำ ที่กรองได้มาใช้อุปโภคภายในบ้านโดยการแกว่งน้ำคลองปริมาตร 4,000  cm3  ด้วยสารส้ม 5 กรัม  รอจนกระทั่งสารแขวนลอยตกตะกอน เปิดน้ำให้ไหลผ่านชุดเครื่องกรองน้ำ 2 ชุด  ซึ่งแต่ละชุดมีวัสดุ   ชั้นกรองเรียงกันตามลำดับจากด้านล่างถึงด้านบนของชุดกรองน้ำเรียงกัน  คือ  ใยแก้ว กรวดหยาบ กรวดละเอียด ถ่านกัมมันต์ ทรายหยาบ ทรายละเอียด และใยแก้ว  โดยมีอัตราส่วนของชั้นกรองที่เหมาะสมที่สุด คือ 1:100:90:80:90:90:1 ตามลำดับ  พบว่า ลักษณะของน้ำที่กรองได้เป็นสีใส ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น และมีตะกอนปนอยู่ในน้ำน้อยมาก

24 กุมภาพันธ์ 2556

การสะกด แม่ กน แม่ กด โดยให้นักเรียนอ่านตามครู